วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เปลี่ยนตำราเป็นประสบการณ์ภาพเคลื่อนไหว

สื่อวีดิทัศน์

วีดิทัศน์เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ ภาพทำหน้าที่หลักในการนำเสนอ เสียงจะเข้ามาช่วยเสริมในส่วนของภาพเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น วีดิทัศน์เป็นสื่อในลักษณะที่นำเสนอเป็นภาพเคลื่อนไหวและสร้างความต่อเนื่องของการกระทำด้วยวัตถุจากเรื่องราวต่างๆ สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ชม เป็นสื่อที่เข้าถึงง่าย มีความรวดเร็วสามารถเสนอเหตุการณ์ได้ทันที ถ้าเสนอรายการผ่านระบบโทรทัศน์ ก็จะเป็นรายการโทรทัศน์
การผลิตวีดิทัศน์ในการศึกษานั้น เป็นเรื่องของการสื่อสาร การถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อ วีดิทัศน์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนและครูเป็นจุดมุ่งหมายหลัก ขั้นตอนการผลิตนั้นเหมือนกับการผลิตรายการวีดิทัศน์ทั่วไป แต่จะแตกต่างกันที่รายละเอียดความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และการสื่อความหมายเพื่อการเรียนรู้ การสอน รายการวีดิทัศน์ ที่มีคุณภาพนั้นต้องสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ได้ตามวัตถุประสงค์หลักที่ตั้งเอาไว้




ข้อดี
ข้อเสีย
·       สามารถใช้ได้กับผู้เรียนทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
·       สามารถฉายซ้ำเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจ หรือต้องการทบทวนบทเรียนได้
·       การเคลื่อนไหวของภาพและเสียงจะทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ที่เหมือนของจริงมากกว่าอ่านในหนังสือเรียน
·       ปัจจุบันสื่อประเภทนี้หาได้ง่ายขึ้น
·       ต้นทุนอุปกรณ์+การผลิตต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการผลิตและจัดรายการ
·       สื่อมีระยะเวลาในการจัดเก็บที่จำกัด
·       เนื้อหาไม่มีการอัพเดท






ลักษณะเฉพาะของวีดิทัศน์
1. เป็นสื่อที่สามารถเห็นได้ทั้งภาพ และฟังเสียง
2. มีความคงที่ของเนื้อหา
3. เสนอเป็นภาพเคลื่อนไหวที่แสดงความต่อเนื่องของการกระทำ
4. ใช้ได้ทั้งผู้ชมทั้งที่เป็นกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
5. เสนอได้ทั้งภาพจริงและกราฟิกต่างๆ
6. สามารถเก็บเป็นข้อมูลและนำมาเผยแพร่ได้หลายครั้ง 

            อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าสื่อนั้นจะดีเลิศขนาดไหน แต่ถ้าครูผู้สอนไม่ได้ใส่ใจในตัวผู้เรียน ไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสม มันก็ไม่สามารถทำให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพได้



ปัจจุบันครูทุกคนก็ล้วนแต่รู้จักสื่อวีดีทัศน์กันดีอยู่แล้ว มันเป็นสื่อที่มีความน่าสนใจ ช่วยกระตุ้นเด็กได้ และทุกวันนี้ก็มีบริษัท หรือหน่วยงานต่างๆผลิตสื่อประเภทนี้ขึ้นมาอย่างน่าสนใจ แต่ครูส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่นำมาใช้อยู่ดี สื่อการสอนชนิดนี้อาจจะไม่ใช่นวัตกรรมใหม่ แต่มันให้ผลอย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นจึงอยากให้ครูลองใช้สื่อชนิดนี้มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น




วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อกลางระหว่างเรา


สื่อกลางระหว่างเรา

          สื่อการสอนเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน มันเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างครูและผู้เรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะเข้าใจเนื้อหาได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นแบบไหน แต่ก่อนที่จะเอาสื่อการสอนมาใช้เราต้องรู้ถึงลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติขอสื่อแต่ละประเภทให้ตรงกับวัตถุประสงค์ และมันต้องตอบสนองผู้เรียนได้ โดยมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ

เทคโนโลยีและการสื่อสารในสื่อการเรียนการสอน
            สื่อในการเรียนการสอนเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ ดังนั้นผู้สอนจึงต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับวิชาว่าผู้เรียนจะรับรู้ด้วยวิธีไหน ยังไง
            ดังนั้นจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้สอนต้องเลือกใช้สื่อและช่องทางสื่อสารให้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อหาวิชา รูปแบบการเรียนรู้ รวมถึงสภาพอวดล้อมในห้องเรียนด้วย เพราะว่าการใช้สื่อที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์อาจทำให้การเรียนการสอนนั้นไม่บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
            สรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นสำคัญมาก เพราะเทคโนโลยีสนับสนุนให้การผลิตสื่อการเรียนการสอนเหมาะสมกับผู้เรียนทันสมัยมากขึ้น

ความหมายของ “สื่อการเรียนการสอน”
            สื่อ (Media) เป็นคำมาจากภาษาละตินว่า “medium” แปลว่า “ระหว่าง”
            เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนจะเรียกว่า “สื่อการสอน” (Instructional media)
เมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้จะเรียกว่า “สื่อการเรียน” (Learning Media)
“สื่อการสอน”      +       “สื่อการเรียน”        =          “สื่อการเรียนการสอน”

การจำแนกสื่อการสอน
            สื่อการสอนไม่ได้เป็นแค่วัสดุอุปกรณ์ที่มนุษย์ใช้เทคโนโลยีประดิษฐ์ขึ้นมาเท่านั้น แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกสามารถนำมาใช้เป็นสื่อการสอนได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือแม้แต่เทคนิควิธีการ
            สื่อต่างๆเหล่านั้นเป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลจากครูไปยังผู้เรียน เลยมีนักวิชาการแบ่งตามประเภท ลักษณะ และวิธีการใช้ไว้ดังนี้
1.      สื่อโสตทัศน์ (Audiovisual materials)
2.      สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ (Cone of Experience)
3.      สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources)

คุณค่าของสื่อการสอน
1.      สื่อกับผู้เรียน
  • ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
  • ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจตรงกัน
  • ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในห้องเรียน
  • ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อต่างๆ
2.      สื่อกับผู้สอน
  • ช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจมากขึ้น
  • ช่วยแบ่งเบาภาระของครูในการเตรียมเนื้อหา
  • เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ เพราะต้องเตรียมสื่อที่เหมาะสม



หลักการเลือกสื่อการสอน
1.      สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหา
2.      เนื้อหาต้องถูกต้อง อัพเดท น่าสนใจ
3.      ต้องเหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
4.      ต้องสะดวกในการใช้งาน
5.      ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี
6.      มีราคาเหมาะสม ไม่แพงจนเกินไป

หลักการใช้สื่อการสอน
  • เตรียมตัวผู้สอน  เตรียมความพร้อม เขียนแผนการสอน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
  • เตรียมจัดสภาพแวดล้อม  จัดเตรียมห้องให้พร้อมต่อการเรียนการสอน
  • เตรียมพร้อมผู้เรียน  มีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดในเนื้อหา
  • การใช้สื่อ  ผู้สอนต้องใช้สื่อให้เหมาะสมกับขั้นตอนที่เตรียมไว้
  • การประเมินติดตามผล    ทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนหรือเปล่า
ขั้นตอนการใช้สื่อ
1.      ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.      ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน
3.      ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ
4.      ขั้นสรุปบทเรียน
5.      ขั้นประเมินผู้เรียน