วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

PRINT MEDIA

สื่อสิ่งพิมพ์คืออะไร???
            สื่อสิ่งพิมพ์ มีความหมายว่า สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆ ด้วยวิธีการต่างๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้ผู้อื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่างๆ


การพิมพ์ในประเทศไทยมีความเป็นมายังไงกัน
            ในสมัยพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนา คริสต์ขึ้นและหลังจากนั่นหมอบรัดเลย์เข้าเมืองไทย และได้เริ่มงานพิมพ์จนเป็นที่สนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์
            ในเมืองไทย พ.ศ.2382 ได้พิมพ์เอกสารราชการชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่นซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2387 ได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น



ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

            สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
v หนังสือ สารคดี ตำราแบบเรียน
v หนังสือบันเทิงคดี

            สื่อสิ่งพิมพ์ประเภท เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
v หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้น โดยนำเสนอเรื่อง ข่าวสารภาพแบะความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน
v วารสาร,นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้น โดยนำเสนอ สาระข่าวความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน
v จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้น แบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษาหาความรู้

            สื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา
v โบร์ชัวร์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกัน
v ใบปลิว เป็นสิ่งพิมพ์ใบเดียว มักใช้ขนาดกระดาษ A 4
v แผ่นพับ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดนเน้นการนำเสนอเนื้อหา ลักษณะพับเป็นรูปเล่มต่างๆ
v ใบปิด คือสื่อ สิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่างๆ

สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
            เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่างๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก เช่น สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ

สิ่งพิมพ์มีค่า
            เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่างๆ ซึ่งกำหนดตามกฎหมาย เช่น  เช็คธนาคาร,โฉนด ,หนังสือเดินทาง,ตั๋วแลกเงิน เป็นต้น

สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ
            เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน เช่น นามบัตร, ปฏิทิน, บัตรเชิญ,ใบเสร็จรับเงิน, ใบส่งของ เป็นต้น

สิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์
            เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าอินเทอร์เน็ต

     


            สื่อสิ่งพิมพ์นั้นมีหลายรูปแบบ หลายประเภท ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป สำหรับผู้เขียนนั้นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผู้เขียนชื่นชอบที่สุด คงจะเป็นโปสการ์ด





เพราะอะไร ทำไมดิฉันถึงชอบโปสการ์ด ?
          เนื่องจากโปสการ์ดนั้น จะมีด้านหนึ่งที่เป็นรูปภาพที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นรูปวิว สถานที่ต่างๆ รูปดารา บุคคล หรือแม้กระทั่งสิ่งของ เพราะรูปภาพเพียงหนึ่งรูปนั้นสามารถอธิบายคำได้นับพันคำ ส่วนอีกด้านหนึ่งของรูปภาพนั้นจะเป็นพื้นที่ว่างๆ ที่มีไว้ให้เราสามารถแบ่งปันคำพูดผ่านตัวอักษร เพื่อส่งความรู้สึกไปให้ผู้รับได้ นับว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีมูลค่าทางจิตใจเป็นอย่างมากค่ะ


โปสการ์ดใบโปรดของผู้เขียน ><



          โปสการ์ดใบนี้มีรูปภาพที่ดูแล้วแสนจะธรรมดา แต่มันไม่ธรรมดา จากภาพจะเห็นได้ว่าบนตู้ไปรษณีย์สีแดงตู้นี้มีเงาปรากฏอยู่ ทำให้รูปภาพดูมีมิติมากขึ้น สีแดงของตู้กับสีของเงาตัดกัน ทำให้ภาพดูน่าสนใจ ในส่วนของข้อความนั้นมีการใช้สำนวนภาษาที่มีมาแต่โบราณ ทำให้รู้สึกถึงความคลาสสิกของช่วงเวลา ผู้เขียนรักโปสการ์ดใบนี้เพราะความสวยงามเท่านั้นหรือ? จริงๆ แล้วเหตุผลสำคัญอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนชอบโปสการ์ดใบนี้มากที่สุดนั้นก็คือ คนที่ส่งโปสการ์ดใบนี้มาให้ เพราะความรู้สึกดีๆ ที่อยู่ภายใน เมื่อนำมาประกอบกับความสวยงามของรูปภาพ มันทำให้โปสการ์ดใบนี้มีคุณค่ามากขึ้นเยอะเลยทีเดียวค่ะ

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จุดเปลี่ยน


            สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน สบายดีกันไหมคะ เปิดเทอมแล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง ทำงานกันทันหรือเปล่า หวังว่าทุกคนคงจัดสรรเวลากันได้ดีนะคะ ถ้าคนไหนมีเวลาว่าง ก็อยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ หันมาอ่านหนังสือกัน เพราะว่าการอ่านนั้นไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิด นอกจากจะได้ความรู้ ความบันเทิงแล้ว ยังเป็นการฝึกสมาธิของเราไปในตัวด้วยนะคะ

            ตั้งแต่จำความได้ผู้เขียนก็รู้ตัวแล้วว่าตัวเองเป็นคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือเอามากๆ มือจับหนังสือปั๊บเหมือนกรอกยานอนหลับเข้าปากปุ๊บ อย่าว่าแต่หนังสือเรียนเลยค่ะ แค่ขนาดหนังสือนิยายผู้เขียนยังไม่ชอบอ่านเลย แต่มาวันหนึ่งพี่ชายของผู้เขียนก็ได้ยื่นหนังสือเล่มหนึ่งมาให้




            สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง ของวินทร์ เลียววาริณ หนังสือเล่นนี้เป็นจุดพลิกผันสำหรับผู้เขียนเลยก็ว่าได้ เพราะหลังจากที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ มันทำให้ดิฉันสนุกกับการอ่านอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน จำได้เลยว่าตอนที่ได้อ่านนั้นไม่ยอมทำอย่างอื่นเลยจนกว่าจะได้อ่านมันจนจบ เพราะว่าสำนวนการแต่งนั้นมีความแปลกใหม่ มีการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายแต่ไม่วิบัติ เนื้อเรื่องก็ดำเนินไปอย่างสนุกสนานทำให้เห็นได้ภาพชัดเจน และที่สำคัญเราไม่สามารถเดาได้เลยว่าตอนจบจะเป็นอย่างไร อ่านไปเหมือนได้ผจญภัยไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ตอน "หนี" แพนเป็นนักโทษแหกคุก ที่หนีหัวซุกหัวซุนเข้าไปในป่า เขาวิ่งอย่างไม่คิดชีวิต หลบหลังโขดหิน กระโดดเข้าพุ่มไม้ ตะเกียกตะกายเอาตัวรอด สู้รบหลบหนีจนจนมุม แต่แพนกลับไม่โดนจับ เพราะความจริง แพนคือพัศดีที่แค่อยากลองเป็นนักโทษ
           
            ผู้เขียนกล้าพูดเลยว่า หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องสั้นแนวหักมุมที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง และหลังจากการอ่านหนังสือเล่มนี้มันก็ทำให้ดิฉันตามอ่านหนังสือของวินทร์ เลียววาริณแทบทุกเล่ม
           
            ทุกคนก็ได้รู้แล้วว่าหนังสือที่ผู้เขียนชื่นชอบนั้นเป็นแบบไหน แล้วเพื่อนๆ หละคะ มีหนังสือในดวงใจกันหรือเปล่า? ถ้ามีก็อยากให้เพื่อนๆ ลองเอามาแบ่งปันกันบ้างนะคะ :)


วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ล้าสมัยแต่ไม่ไร้คุณค่า

            วัสดุ-อุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษานั้น ปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายชนิด มีคุณสมบัติให้เลือกมากขึ้น มีประโยชน์ใช้สอยได้มากขึ้น มียี่ห้อให้เลือกมากขึ้น เราจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับสื่อชนิดหนึ่ง ซึ่งดิฉันเชื่อว่าทุกคนต้องเคยเห็นเจ้าเครื่องนี้ค่ะ




            คุณผู้อ่านทราบไหมคะว่าเจ้าเครื่องเล่นเทปเครื่องนี้ถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของวัสดุ-อุปกรณ์ด้านเครื่องเสียงเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นซีดี วอร์คแมน หรือแม้กระทั่งบลูเรย์ เจ้าเครื่องเล่นเทปตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น เพื่อไม่เป็นการเสียเวลานะคะเราไปทำความรู้จักกับมันกันเลย


            เครื่องเล่นเทป ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานในลักษณะพกพาเคลื่อนที่ในขนาดที่ไม่ใหญ่มาก ตัวตู้ลำโพงสามรถหิ้วถือได้เพียงผู้ใช้งานคนเดียว ผนวกมาพร้อมกับภาคมิกเซอร์แอมป์ เหมาะกับการใช้งานในแบบการแสดงดนตรีสดแนวอะคูสติก,การพูดบรรยาย หรือการเปิดดนตรีในกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างลงตัว และคุณลักษณะทางเทคนิคที่เด่นๆ เครื่องเล่นเทปเครื่องนี้เหมาะสำหรับการนำไปใช้สอนในห้องเรียนขนาดกลางนะคะ รับรองว่าคุณภาพเสียงโอเคเลยทีเดียว




            สำหรับวันนี้คิดว่าเพื่อนๆคงได้รับประโยชน์ไปไม่มากก็น้อยนะคะ วันหน้าพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ :)

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เปลี่ยนตำราเป็นประสบการณ์ภาพเคลื่อนไหว

สื่อวีดิทัศน์

วีดิทัศน์เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ ภาพทำหน้าที่หลักในการนำเสนอ เสียงจะเข้ามาช่วยเสริมในส่วนของภาพเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น วีดิทัศน์เป็นสื่อในลักษณะที่นำเสนอเป็นภาพเคลื่อนไหวและสร้างความต่อเนื่องของการกระทำด้วยวัตถุจากเรื่องราวต่างๆ สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ชม เป็นสื่อที่เข้าถึงง่าย มีความรวดเร็วสามารถเสนอเหตุการณ์ได้ทันที ถ้าเสนอรายการผ่านระบบโทรทัศน์ ก็จะเป็นรายการโทรทัศน์
การผลิตวีดิทัศน์ในการศึกษานั้น เป็นเรื่องของการสื่อสาร การถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อ วีดิทัศน์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนและครูเป็นจุดมุ่งหมายหลัก ขั้นตอนการผลิตนั้นเหมือนกับการผลิตรายการวีดิทัศน์ทั่วไป แต่จะแตกต่างกันที่รายละเอียดความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และการสื่อความหมายเพื่อการเรียนรู้ การสอน รายการวีดิทัศน์ ที่มีคุณภาพนั้นต้องสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ได้ตามวัตถุประสงค์หลักที่ตั้งเอาไว้




ข้อดี
ข้อเสีย
·       สามารถใช้ได้กับผู้เรียนทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
·       สามารถฉายซ้ำเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจ หรือต้องการทบทวนบทเรียนได้
·       การเคลื่อนไหวของภาพและเสียงจะทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ที่เหมือนของจริงมากกว่าอ่านในหนังสือเรียน
·       ปัจจุบันสื่อประเภทนี้หาได้ง่ายขึ้น
·       ต้นทุนอุปกรณ์+การผลิตต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการผลิตและจัดรายการ
·       สื่อมีระยะเวลาในการจัดเก็บที่จำกัด
·       เนื้อหาไม่มีการอัพเดท






ลักษณะเฉพาะของวีดิทัศน์
1. เป็นสื่อที่สามารถเห็นได้ทั้งภาพ และฟังเสียง
2. มีความคงที่ของเนื้อหา
3. เสนอเป็นภาพเคลื่อนไหวที่แสดงความต่อเนื่องของการกระทำ
4. ใช้ได้ทั้งผู้ชมทั้งที่เป็นกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
5. เสนอได้ทั้งภาพจริงและกราฟิกต่างๆ
6. สามารถเก็บเป็นข้อมูลและนำมาเผยแพร่ได้หลายครั้ง 

            อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าสื่อนั้นจะดีเลิศขนาดไหน แต่ถ้าครูผู้สอนไม่ได้ใส่ใจในตัวผู้เรียน ไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสม มันก็ไม่สามารถทำให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพได้



ปัจจุบันครูทุกคนก็ล้วนแต่รู้จักสื่อวีดีทัศน์กันดีอยู่แล้ว มันเป็นสื่อที่มีความน่าสนใจ ช่วยกระตุ้นเด็กได้ และทุกวันนี้ก็มีบริษัท หรือหน่วยงานต่างๆผลิตสื่อประเภทนี้ขึ้นมาอย่างน่าสนใจ แต่ครูส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่นำมาใช้อยู่ดี สื่อการสอนชนิดนี้อาจจะไม่ใช่นวัตกรรมใหม่ แต่มันให้ผลอย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นจึงอยากให้ครูลองใช้สื่อชนิดนี้มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น




วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อกลางระหว่างเรา


สื่อกลางระหว่างเรา

          สื่อการสอนเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน มันเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างครูและผู้เรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะเข้าใจเนื้อหาได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นแบบไหน แต่ก่อนที่จะเอาสื่อการสอนมาใช้เราต้องรู้ถึงลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติขอสื่อแต่ละประเภทให้ตรงกับวัตถุประสงค์ และมันต้องตอบสนองผู้เรียนได้ โดยมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ

เทคโนโลยีและการสื่อสารในสื่อการเรียนการสอน
            สื่อในการเรียนการสอนเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ ดังนั้นผู้สอนจึงต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับวิชาว่าผู้เรียนจะรับรู้ด้วยวิธีไหน ยังไง
            ดังนั้นจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้สอนต้องเลือกใช้สื่อและช่องทางสื่อสารให้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อหาวิชา รูปแบบการเรียนรู้ รวมถึงสภาพอวดล้อมในห้องเรียนด้วย เพราะว่าการใช้สื่อที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์อาจทำให้การเรียนการสอนนั้นไม่บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
            สรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นสำคัญมาก เพราะเทคโนโลยีสนับสนุนให้การผลิตสื่อการเรียนการสอนเหมาะสมกับผู้เรียนทันสมัยมากขึ้น

ความหมายของ “สื่อการเรียนการสอน”
            สื่อ (Media) เป็นคำมาจากภาษาละตินว่า “medium” แปลว่า “ระหว่าง”
            เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนจะเรียกว่า “สื่อการสอน” (Instructional media)
เมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้จะเรียกว่า “สื่อการเรียน” (Learning Media)
“สื่อการสอน”      +       “สื่อการเรียน”        =          “สื่อการเรียนการสอน”

การจำแนกสื่อการสอน
            สื่อการสอนไม่ได้เป็นแค่วัสดุอุปกรณ์ที่มนุษย์ใช้เทคโนโลยีประดิษฐ์ขึ้นมาเท่านั้น แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกสามารถนำมาใช้เป็นสื่อการสอนได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือแม้แต่เทคนิควิธีการ
            สื่อต่างๆเหล่านั้นเป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลจากครูไปยังผู้เรียน เลยมีนักวิชาการแบ่งตามประเภท ลักษณะ และวิธีการใช้ไว้ดังนี้
1.      สื่อโสตทัศน์ (Audiovisual materials)
2.      สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ (Cone of Experience)
3.      สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources)

คุณค่าของสื่อการสอน
1.      สื่อกับผู้เรียน
  • ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
  • ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจตรงกัน
  • ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในห้องเรียน
  • ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อต่างๆ
2.      สื่อกับผู้สอน
  • ช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจมากขึ้น
  • ช่วยแบ่งเบาภาระของครูในการเตรียมเนื้อหา
  • เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ เพราะต้องเตรียมสื่อที่เหมาะสม



หลักการเลือกสื่อการสอน
1.      สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหา
2.      เนื้อหาต้องถูกต้อง อัพเดท น่าสนใจ
3.      ต้องเหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
4.      ต้องสะดวกในการใช้งาน
5.      ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี
6.      มีราคาเหมาะสม ไม่แพงจนเกินไป

หลักการใช้สื่อการสอน
  • เตรียมตัวผู้สอน  เตรียมความพร้อม เขียนแผนการสอน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
  • เตรียมจัดสภาพแวดล้อม  จัดเตรียมห้องให้พร้อมต่อการเรียนการสอน
  • เตรียมพร้อมผู้เรียน  มีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดในเนื้อหา
  • การใช้สื่อ  ผู้สอนต้องใช้สื่อให้เหมาะสมกับขั้นตอนที่เตรียมไว้
  • การประเมินติดตามผล    ทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนหรือเปล่า
ขั้นตอนการใช้สื่อ
1.      ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.      ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน
3.      ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ
4.      ขั้นสรุปบทเรียน
5.      ขั้นประเมินผู้เรียน


วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามีความสำคัญอย่างไร?

ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 

  • เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ บางครั้งอาจารย์ หรือตัวเราเองอาจจะมีคำถามหรือข้อสงสัยมา เราก็สามารถเข้าไปปรึกษา สอบถาม ค้นคว้าหาคำตอบได้


  • เป็นแหล่งหาความรู้เพิ่มเติม ความรู้ในบางเรื่องอาจจะไม่มีในบทเรียน หรืออาจจะมีแต่ยังไม่ละเอียดครบถ้วนตามที่เราต้องการ เราก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้


  • เป็นที่ทำงาน ศึกษา ค้นคว้า เราสามารถที่จะมานั่งทำงานในศูนย์บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบทำคนเดียว หรือทำกันเป็นกลุ่ม เพราะภายในศูนย์จะมีให้บริการสื่อต่างๆที่ครอบคลุมระบบการศึกษา ดังนั้นเราสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับรายการต่างๆที่อาจารย์มอบหมายให้ หรือแม้กระทั่งความรู้รอบตัว


  • เป็นแหล่งพักผ่อน  เราสามารถเล่นอินเทอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลง เพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ในศูยน์บริการ และบางครั้งอาจจะแอบมาพักสายตาได้บ้างสักพัก แค่ไม่รบกวนผู้ใช้บริการคนอื่นและสร้างความเสียหายให้แก่ศูนย์


  • เป็นที่สนทนา ปรึกษาหารือ เราอาจมีเรื่องบางเรื่อง หรือข้อมูลบางอย่างที่เราสงสัยแล้วหาไม่เจอ เราอาจจะสอบถาม ขอข้อเสนอแนะ หรือปรึกษาพี่เจ้าหน้าที่ที่ประจำการอยู่ก็ได้ เขาจะช่วยเราด้วยความเต็มใจและสุดความสามารถ



  • เป็นที่เตรียมงานด้านการสอน อาจารย์ผู้สอนหลายท่านอาจจะมาหาสื่อการเรียนการสอนที่ตรงกับเนื้อหาที่ตนสอน เพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์จะได้มีวิธีการสอนที่หลากหลาย และทำให้เด็กมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้สูงสุด


ความสำคัญที่กล่าวมานั้นอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง









ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ





ประวัติความเป็นมา
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อแรกตั้งใน พ.ศ. 2507 มีฐานะเป็นแผนก สังกัดกองกลาง สำนักงานอธิการบดี วังท่าพระ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2511 มหาวิทยาลัยได้ขยายการศึกษามาที่พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ได้จัดตั้งห้องสมุดขึ้นอีกแห่งหนึ่ง โดยมีฐานะเป็นแผนก สังกัดกองกลาง สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2532 มหาวิทยาลัยได้รวมห้องสมุดทั้งสองวิทยาเขตเข้าด้วยกัน โดยจัดตั้งเป็น "สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร"

บริการของหอสมุด

  1. บริการยืม - คืน วัสดุการศึกษา
  2. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
  3. บริการยืมระหว่างห้องสมุด
  4. บริการจองหนังสือ
  5. บริการหนังสือสำรองรายวิชา
  6. บริการรวบรวมบรรณานุกรมเฉพาะเรื่อง
  7. บริการจัดแสดงหนังสือ
  8. บริการวารสาร / หนังสือพิมพ์
  9. บริการโสตทัศนศึกษา
  10. บริการอินเทอร์เน็ต




ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรนั้น นี่มีบริการที่หลากหลาย เป็นแหล่งที่รวมความรู้และความต้องการของนักศึกษามาอีกทั้งบุคคลภายนอกเอาไว้ได้อย่างลงตัว ประกอบด้วย




1. สื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือทางวิชาการ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ กฎหมาย ศิลปะ ปรัชญา ศาสนา  หนังสือพิมพ์รายวัน หรือแม้กระทั่งเรื่องสั้นและนวนิยาย การมีหนังสือที่หลากหลายนั้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ อยากหาวิชาความรู้ก็สามารถค้นคว้าได้ หรือถ้าต้องการที่จะคลายเครียดก็สามารถหาหนังสือเบาสมองมาอ่านได้ ถือได้ว่าครบรสสำหรับเรื่องหนังสือ นอกจากนี้ทางห้องสมุดยังมีบริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ และการยืมหนังสือข้ามห้องสมุดอีกด้วย (ห้องสมุดศิลปากร ทับแก้ว)


2. สื่อมัลติมีเดีย คือ เปิดให้บริการในการยืม-คืน สื่อภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงหนังสารคดีด้วย
3. สื่อประกอบการเรียนการสอน บางรายวิชาอาจารย์ผู้สอนจะผลิตสื่อเอาไว้และจัดวางไว้ให้ห้องสมุด เพื่อที่จะให้นักศึกษาได้นำไปประกอบการเรียน ส่งผลให้การเรียนประสิทธิภาพมากขึ้น


4. มุมคอมพิวเตอร์ ทางห้องสมุดได้จัดมุมคอมพิวเตอร์และให้บริการอินเทอร์เน็ตไว้สำหรับนิสิตนักศึกษา และบุคคลภายนอก ไว้สำหรับการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือบางครั้งอาจจะเป็นการทำรายงานวิชาต่างๆบนคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ทางห้องสมุดได้มีการให้บริการพิมพ์เอกสารจากคอมพิวเตอร์ และร้านถ่ายเอกสารด้วย รวมทั้งการค้นหาหนังสือออนไลน์ 


5. มุมสำหรับศึกษาค้นคว้า และพักผ่อน ทางห้องสมุดจะจัดโต๊ะเก้าอี้ และโซฟาไว้ เพื่อความสะดวกสบายในการทำงาน ค้นคว้าหาความรู้ และพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ทางห้องสมุดได้แบ่งโซนการให้บริการไว้เป็น2 ส่วน คือเขตห้ามใช้เสียง และเขตที่สามารถใช้เสียงได้เล็กน้อย




ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/